วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

7 สายพันธุ์นกหายากในเมืองไทย

1. นกกะเรียน

      นกกระเรียนเป็นนกน้ำขนาดใหญ่ เคยพบอาศัยอยู่ในท้องทุ่งในพื้นที่ราบทั่วประเทศ ในอดีตนกกะเรียน มักพบรวมฝูงกันเป็นจำนวนมากนับหมื่นตัวในช่วงฤดูผสมพันธุ์ ส่วนใหญ่พบที่ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ แต่นกกะเรียนได้ลดจำนวนลงตามลำดับ โดยเฉพาะเมื่อบ้านเมืองขยายตัว และพื้นที่ชุ่มน้ำซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของนกกะเรียน ได้ถูกมนุษย์ยึดครองเป็นที่ทำกินและที่อยู่อาศัย ทำให้นกขนาดใหญ่ชนิดนี้หมดโอกาสที่จะมีชีวิตในเมืองไทยอีกต่อไป เนื่องจากขาดแคลนแหล่งอาศัยและขายพันธุ์ นกกะเรียนในอดีตที่เคยมีผู้พบเห็นจำนวนนับพัน นับหมื่นตัว จึงกลายเป็นนกหายาก ที่พอจะมีให้เห็นบ้างก็เป็นนกที่อพยพย้ายถิ่นมา เราจะได้พบเห็นนกกะเรียนอีกครั้งเฉพาะเมื่อถึงฤดู “ นกกะเรียนคืนถิ่น” เท่านั้น ซึ่งประเทศไทยได้ขอนกกะเรียนพันธุ์ไทยมาจากต่างประเทศ เพื่อกลับมาเพาะขยายพันธุ์ในเมืองไทยอีกครั้ง และนำไปปล่อยให้อาศัยอยู่ในธรรมชาติ

นกกะเรียน


2.นกอ้ายงั่ว

     เป็นนกที่พบได้ตลอดทั้งปีตามหนองบึงทั่วประเทศ ตั้งแต่เหนือจรดใต้  เมื่อเวลาผ่านไป ต้นไม้ใหญ่ถูกตัด ถูกทำลาย บึงน้ำชานกรุงถูกถม กลายเป็นบ้านจัดสรร โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ  นกอ้ายงั่วก็พลอยหาสาบสูญไปด้วย

นกอ้ายงั่ว

3. นกกาบบัว

      นกกาบบัวเคยพบได้ง่ายๆ ตามหนองบึงหนอง ท้องทุ่ง ทั่วบริเวณภาคกลางไปจนถึงบริเวณภาคใต้ แต่ปัจจุบันนกกาบบัวพบเห็นได้ไม่บ่อย และส่วนใหญ่จะเป็นนกอพยพย้ายถิ่นเข้ามา แต่สถานะของนกชนิดนี้ยังคงเป็นนกประจำถิ่น เพราะยังมีพื้นที่ให้พวกมันสร้างรังวางไข่เป็นแหล่งสุดท้าย ที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง แต่ต้นเที้ยและต้นเสม็ดที่สูงใหญ่แข็งแรงพอที่จะให้นกขนาดใหญ่ชนิดนี้ทำรังวางไข่ก็ถูกตัดโค่นลงเกือบหมด

นกกาบบัว


4. นกตะกรุม

      นกตะกรุม ดูจะเป็นนกที่ชาวบ้านทั่วไปคุ้นเคยเป็นอย่างดี ถึงกับนำชื่อของมันมาล้อเลียนคนที่มีศีรษะล้าน และนกตะกราม ซึ่งเป็นญาติใกล้ชิดกับนกตะกรุม ที่มีพฤติกรรมในการกินอาหารมูมมาม ก็ถูกนำไปใช้ตำหนิติเตียนคนที่กินอาหารมูมมามว่า ตะกละตะกราม
ปัจจุบันมีรายงานการพบนกตะกรุม - ตะกรามน้อยมากและนานๆครั้ง และมักจะเป็นนกที่อพยพเข้ามาจากกัมพูชา เพราะกัมพูชายังคงมีธรรมชาติสมบูรณ์มากกว่าบ้านเรา
นกตะกรุม



5. นกแร้ง

      นกแร้ง หรือเรียกอีกอย่างว่า “แร้ง” เริ่มหมดไป เพราะศพและซากสัตว์ถูกฝังหรือเผาอย่างถูกวิธี แร้งจึงขาดอาหาร ยิ่งเมื่อต้นไม้ใหญ่หมดไป ฝูงแร้งหลายชนิดจึงลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว ที่เหลืออยู่ ก็จำเป็นต้องหลบหนีหายไปหมดเพื่อความอยู่รอด บ้างก็ไปพึ่งป่าบางแห่งที่ยังพอมีสัตว์ป่าชุกชุมเพื่อคอยกินซากสัตว์ป่า

นกแร้ง


6. นกเงือก

      นกเงือกเป็นนกขนาดใหญ่ และเป็นนกที่มีพฤติกรรมการสร้างรังที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว และแปลกกว่านกชนิดอื่น โดยนกเงือกตัวเมียจะเข้าไปขังตัวอยู่ภายในโพรงและปิดปากโพรงไว้ เหลือเพียงช่องพอให้ตัวผู้นำอาหารมาป้อน จนเมื่อฟักไข่และลูกนกเติบใหญ่นกเงือกจึงจะเจาะปากโพรงออกมา  ด้วยลำตัวขนาดใหญ่ของนกเงือก ทำให้มันต้องการต้นไม้ที่มีลำต้นสูงใหญ่เพื่อการทำรัง ป่าดงดิบที่มีต้นไม้ใหญ่จึงเป็นสถานที่แห่งเดียวที่พวกมันจะดำรงชีวิตอยู่ได้

นกเงือก


7. นกปรอดแม่ทะ

     นกปรอดแม่ทะเป็นนกอีกชนิดหนึ่งที่โชคร้าย เพราะเสียงอันไพเราะของมัน เราอาจจะเห็นการเลี้ยงนกชนิดนี้ตามบ้าน หรือมีขายตามตลาดค้านกทั่วไป แต่ในธรรมชาตินั้นคาดว่านกชนิดนี้จะสูญพันธุ์ไปแล้ว เพราะไม่มีรายงานการพบเห็นนกชนิดนี้เลย ทั้งๆ ที่นกปรอดแม่ทะเป็นนกขนาดใหญ่ เคยพบเห็นได้ทั่วไปตามป่าที่ราบต่ำของภาคใต้



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น