JSDK
วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2562
วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2562
วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2562
วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
ฟูจิซัง? ฟูจิยามะ? สรุปชื่อไหนกันแน่?
ฟูจิซัง? ฟูจิยามะ? สรุปชื่อไหนกันแน่?
ถ้าพูดคำว่า "ญี่ปุ่น" เชื่อว่าทุกคนต้องมีภาพของซูชิ, ราเม็ง, กิโมโน, ชาเขียว และที่ขาดไม่ได้เลยก็ต้องภูเขาไฟฟูจิเด้งขึ้นมาในหัวแน่ๆ เลย
ภูเขาไฟฟูจิ (Mount Fuji) กินพื้นที่ระหว่างจังหวัดยามานาชิและชิซุโอกะ ทางทิศตะวันตกของโตเกียว ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกด้านวัฒนธรรมในปี 2013 โดยองค์กร UNESCO จัดเป็นมรดกโลกลำดับที่ 17 ของญี่ปุ่น
สำหรับคนญี่ปุ่นเองก็ให้ความสำคัญกับภูเขาไฟฟูจิมากเช่นกัน เพราะเป็นภูเขาที่สูงที่สุดในญี่ปุ่น มีความสูง 3,776 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล สูงกว่าดอยอินทนนท์ ภูเขาที่สูงที่สุดของไทย (2,565 เมตร) ร่วม 1,200 เมตร และมีรูปร่างสวยงามแทบจะสมมาตรกันทุกด้าน เป็นแรงบันดาลใจให้เหล่าศิลปินไม่ว่าจะนักกวี หรือช่างภาพพิมพ์ ผลิตผลงานที่เกี่ยวข้องกับภูเขาฟูจิออกมามากมายตั้งแต่อดีต
ครั้งนี้เราเลยขอรวบรวมสารพัดเรื่องราวเกี่ยวกับภูเขาไฟฟูจิมาให้อ่านกัน ไม่ว่าจะเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย ต้นกำเนิดของภูเขาไฟฟูจิ ความเชื่อต่างๆ ของชาวญี่ปุ่น สถานที่เที่ยวและวิธีเดินทางไปชมฟูจิ ไปดูกันเลย
แต่ก่อนเราอาจเคยได้ยินการเรียกชื่อภูเขาไฟฟูจิว่า "ฟูจิยามะ"ฟูจิซัง? ฟูจิยามะ? สรุปชื่อไหนกันแน่?
แต่จริงๆ แล้วภาษาญี่ปุ่นจะเรียกว่า "ฟูจิซัง"
"ซัง" ในที่นี้ไม่ใช่คำเดียวกับที่เราใช้เติมท้ายชื่อคนอย่าง ทานากะ"ซัง" นะ แต่มาจากตัวคันจิ 山 อ่านได้สองแบบคือ "ยามะ" และ "ซัง" แปลว่า "ภูเขา" ถ้านำมาใช้ตามหลังชื่อเฉพาะมักจะอ่านว่า "ซัง" ในกรณีของภูเขาไฟฟูจิ ภาษาญี่ปุ่นเขียนว่า 富士山 อ่านว่า ฟูจิซัง
*ชื่อของภูเขาบางลูกอาจจะอ่านว่า "ยามะ"
ภูเขาฟูจิรุ่นที่ 4
ภูเขาไฟฟูจิ เกิดจากการทับถมกันของลาวาภูเขาไฟ เดิมเชื่อว่าเกิดจากภูเขาไฟ 3 ลูกที่ซ้อนทับกัน แต่จากการวิจัยชั้นดินในปี 2004 ทำให้รู้ว่าภูเขาฟูจิที่เราเห็นอยู่นี้เป็นภูเขารุ่นที่ 4 แล้ว!
ภูเขาไฟลูกแรกที่เพิ่งถูกค้นพบจากการวิจัยชั้นดินล่าสุดคือภูเขาไฟเซ็นโคมิทาเกะที่ปะทุขึ้นเมื่อหลายแสนปีก่อน จากนั้นก็ตามมาด้วยการปะทุราว 7 แสนปีก่อนจนเกิดเป็นภูเขาไฟโคมิทาเกะ มีความสูงราว 2,400 เมตร
หลังการปะทุหยุดไปได้พักใหญ่ก็กลับมาปะทุอีกครั้งเมื่อราว 1 แสนปีก่อน การปะทุหลายร้อยครั้งทำให้รูปร่างของภูเขาเปลี่ยนไปและสูงขึ้นเรื่อยๆ กลายเป็นภูเขาไฟโคะฟูจิ จนเข้าสู่ช่วงการปะทุใหญ่ครั้งหลังสุดเมื่อราว 1 หมื่นปีก่อน ที่เปลี่ยนจากการระเบิดรุนแรง มาเป็นการปล่อยลาวาไหลออกมาเรื่อยๆ ลาวาที่ไหลออกมาจนถึงเชิงเขาค่อยๆ เย็นตัวและซ้อนทับกันไปจนเกิดเป็นภูเขาไฟชินฟูจิ ภูเขาฟูจิรุ่นที่ 4 แสนสวยอย่างที่เราเห็นกันทุกวันนี้
ที่เที่ยวรอบภูเขาไฟฟูจิ
คาวากุจิโกะและทะเลสาบทั้ง 5
ภูเขาไฟฟูจิจากทะเลสาบทั้ง 5 ทะเลสาบโมโตซุโกะ, ทะเลสาบโชจิโกะ, ทะเลสาบไซโกะ, ทะเลสาบคาวากุจิโกะ และทะเลสาบยามานากะโกะ
สถานที่เที่ยวชมภูเขาไฟฟูจิยอดนิยมก็หนีไม่พ้นทะเลสาบทั้ง 5 รอบภูเขาไฟฟูจิ หนึ่งในนั้นคือทะเลสาบคาวากุจิโกะ (Lake Kawaguchiko) ที่มีโรงแรม รีสอร์ท เรียวกัง และที่พักมากมายรอบทะเลสาบ มี Mt.Fuji Panorama Ropeway กระเช้าขึ้นเขาเท็นโจให้ได้ชมวิวทะเลสาบคาวากุจิโกะและฟูจิจากมุมสูง สวนโออิชิ (Oishi Park) ที่มีดอกไม้สวยๆ บานเป็นฉากหน้า เรียกได้ว่ามีมุมสวยๆ ให้ได้ดูได้ถ่ายรูปกับภูเขาไฟฟูจิเพียบเลย
สถานที่เที่ยวชมภูเขาไฟฟูจิยอดนิยมก็หนีไม่พ้นทะเลสาบทั้ง 5 รอบภูเขาไฟฟูจิ หนึ่งในนั้นคือทะเลสาบคาวากุจิโกะ (Lake Kawaguchiko) ที่มีโรงแรม รีสอร์ท เรียวกัง และที่พักมากมายรอบทะเลสาบ มี Mt.Fuji Panorama Ropeway กระเช้าขึ้นเขาเท็นโจให้ได้ชมวิวทะเลสาบคาวากุจิโกะและฟูจิจากมุมสูง สวนโออิชิ (Oishi Park) ที่มีดอกไม้สวยๆ บานเป็นฉากหน้า เรียกได้ว่ามีมุมสวยๆ ให้ได้ดูได้ถ่ายรูปกับภูเขาไฟฟูจิเพียบเลย
Source : https://matcha-jp.com/th/6760
HOMEPAGE
7 สายพันธุ์นกหายากในเมืองไทย
1. นกกะเรียน
นกกระเรียนเป็นนกน้ำขนาดใหญ่ เคยพบอาศัยอยู่ในท้องทุ่งในพื้นที่ราบทั่วประเทศ ในอดีตนกกะเรียน มักพบรวมฝูงกันเป็นจำนวนมากนับหมื่นตัวในช่วงฤดูผสมพันธุ์ ส่วนใหญ่พบที่ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ แต่นกกะเรียนได้ลดจำนวนลงตามลำดับ โดยเฉพาะเมื่อบ้านเมืองขยายตัว และพื้นที่ชุ่มน้ำซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของนกกะเรียน ได้ถูกมนุษย์ยึดครองเป็นที่ทำกินและที่อยู่อาศัย ทำให้นกขนาดใหญ่ชนิดนี้หมดโอกาสที่จะมีชีวิตในเมืองไทยอีกต่อไป เนื่องจากขาดแคลนแหล่งอาศัยและขายพันธุ์ นกกะเรียนในอดีตที่เคยมีผู้พบเห็นจำนวนนับพัน นับหมื่นตัว จึงกลายเป็นนกหายาก ที่พอจะมีให้เห็นบ้างก็เป็นนกที่อพยพย้ายถิ่นมา เราจะได้พบเห็นนกกะเรียนอีกครั้งเฉพาะเมื่อถึงฤดู “ นกกะเรียนคืนถิ่น” เท่านั้น ซึ่งประเทศไทยได้ขอนกกะเรียนพันธุ์ไทยมาจากต่างประเทศ เพื่อกลับมาเพาะขยายพันธุ์ในเมืองไทยอีกครั้ง และนำไปปล่อยให้อาศัยอยู่ในธรรมชาติ
นกกะเรียน |
2.นกอ้ายงั่ว
เป็นนกที่พบได้ตลอดทั้งปีตามหนองบึงทั่วประเทศ ตั้งแต่เหนือจรดใต้ เมื่อเวลาผ่านไป ต้นไม้ใหญ่ถูกตัด ถูกทำลาย บึงน้ำชานกรุงถูกถม กลายเป็นบ้านจัดสรร โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ นกอ้ายงั่วก็พลอยหาสาบสูญไปด้วย
3. นกกาบบัว
นกกาบบัวเคยพบได้ง่ายๆ ตามหนองบึงหนอง ท้องทุ่ง ทั่วบริเวณภาคกลางไปจนถึงบริเวณภาคใต้ แต่ปัจจุบันนกกาบบัวพบเห็นได้ไม่บ่อย และส่วนใหญ่จะเป็นนกอพยพย้ายถิ่นเข้ามา แต่สถานะของนกชนิดนี้ยังคงเป็นนกประจำถิ่น เพราะยังมีพื้นที่ให้พวกมันสร้างรังวางไข่เป็นแหล่งสุดท้าย ที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง แต่ต้นเที้ยและต้นเสม็ดที่สูงใหญ่แข็งแรงพอที่จะให้นกขนาดใหญ่ชนิดนี้ทำรังวางไข่ก็ถูกตัดโค่นลงเกือบหมด
นกกาบบัว |
4. นกตะกรุม
นกตะกรุม ดูจะเป็นนกที่ชาวบ้านทั่วไปคุ้นเคยเป็นอย่างดี ถึงกับนำชื่อของมันมาล้อเลียนคนที่มีศีรษะล้าน และนกตะกราม ซึ่งเป็นญาติใกล้ชิดกับนกตะกรุม ที่มีพฤติกรรมในการกินอาหารมูมมาม ก็ถูกนำไปใช้ตำหนิติเตียนคนที่กินอาหารมูมมามว่า ตะกละตะกราม
ปัจจุบันมีรายงานการพบนกตะกรุม - ตะกรามน้อยมากและนานๆครั้ง และมักจะเป็นนกที่อพยพเข้ามาจากกัมพูชา เพราะกัมพูชายังคงมีธรรมชาติสมบูรณ์มากกว่าบ้านเรา
นกตะกรุม |
5. นกแร้ง
นกแร้ง หรือเรียกอีกอย่างว่า “แร้ง” เริ่มหมดไป เพราะศพและซากสัตว์ถูกฝังหรือเผาอย่างถูกวิธี แร้งจึงขาดอาหาร ยิ่งเมื่อต้นไม้ใหญ่หมดไป ฝูงแร้งหลายชนิดจึงลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว ที่เหลืออยู่ ก็จำเป็นต้องหลบหนีหายไปหมดเพื่อความอยู่รอด บ้างก็ไปพึ่งป่าบางแห่งที่ยังพอมีสัตว์ป่าชุกชุมเพื่อคอยกินซากสัตว์ป่า
6. นกเงือก
นกเงือกเป็นนกขนาดใหญ่ และเป็นนกที่มีพฤติกรรมการสร้างรังที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว และแปลกกว่านกชนิดอื่น โดยนกเงือกตัวเมียจะเข้าไปขังตัวอยู่ภายในโพรงและปิดปากโพรงไว้ เหลือเพียงช่องพอให้ตัวผู้นำอาหารมาป้อน จนเมื่อฟักไข่และลูกนกเติบใหญ่นกเงือกจึงจะเจาะปากโพรงออกมา ด้วยลำตัวขนาดใหญ่ของนกเงือก ทำให้มันต้องการต้นไม้ที่มีลำต้นสูงใหญ่เพื่อการทำรัง ป่าดงดิบที่มีต้นไม้ใหญ่จึงเป็นสถานที่แห่งเดียวที่พวกมันจะดำรงชีวิตอยู่ได้
7. นกปรอดแม่ทะ
นกปรอดแม่ทะเป็นนกอีกชนิดหนึ่งที่โชคร้าย เพราะเสียงอันไพเราะของมัน เราอาจจะเห็นการเลี้ยงนกชนิดนี้ตามบ้าน หรือมีขายตามตลาดค้านกทั่วไป แต่ในธรรมชาตินั้นคาดว่านกชนิดนี้จะสูญพันธุ์ไปแล้ว เพราะไม่มีรายงานการพบเห็นนกชนิดนี้เลย ทั้งๆ ที่นกปรอดแม่ทะเป็นนกขนาดใหญ่ เคยพบเห็นได้ทั่วไปตามป่าที่ราบต่ำของภาคใต้
5 อันดับสุนัขที่ตัวใหญ่ที่สุด
1.Tibetan Mastiff
ลักษณะนิสัยของสุนัขพันธุ์นี้คือซื่อสัตย์ สงบ และมีอัธยาศัยดี มาสทิฟสายพันธุ์ธิเบตที่ตัวใหญ่ที่สุดเมื่อยืนจะสูง 31 นิ้ว และมีน้ำหนักอยู่ที่ 140 - 180 ปอนด์เลยทีเดียว
2.Caucasian Ovcharka
เป็นสุนัขไซด์ใหญ่ที่มีความเป็นมิตรกับมนุษย์ กล้าหาญ แข็งแรง ใจดี กระตือรือร้น มักใช้เป็นสุนัขใช้งานซึ่งต้องมีวิธีการฝึกอย่างเหมาะสม มีขนหนา ฟู อายุเฉลี่ยอยู่ที่ 10-12 ปี น้ำหนักอยู่ที่ 80-100 ปอนด์
3.Leonberger
สุนัขสายพันธุ์นี้เป็นมิตรกับเจ้าของ และครอบครัวอย่างแท้จริง เป็นสุนัขที่อ่อนโยน น่ารัก และสามารถปกป้องเจ้านายได้ ขนยาว ช่วงปากกว้าง มีขนสีดำบนใบหน้า บริเวณคอด้านหน้าถึงช่วงอก จะมีขนยาวปกคลุมอยู่ สุนัขพันธุ์นี้จะมีความสามารถในการว่ายน้ำมาก น้ำหนักเฉลี่ยอยู่ที่ 130- 170 ปอนด์ ความสูงอยู่ที่ 29-31 นิ้ว
4.Saint Bernard
สุนัขที่มีขนาดตัวใหญ่ หน้าตาซึมๆ อ้วนท้วน อึดอาด บนใบหน้าจะมีขนสีดำปกคลุมทำให้ดูน่าเกรง มีพละกำลังมาก รูปร่างสูง ใหญ่ กำยำ มีกล้ามเป็นมัดๆ โดยเฉพาะบริเวณขา เป็นสุนัขที่ใจดีที่สุดในบรรดาเหล่าสุนัขทั้งหลายโดยเฉพาะกับเด็ก ฉลาด ไม่ก้าวร้าวและขี้กลัว เป็นมิตรกับมนุษย์
5.English Mastiff
เป็นน้องหมาตัวใหญ่ที่ดูไม่ดุเลย สำหรับเจ้า อิงลิช มาสทิฟฟ์ ด้วยใบหน้าที่มีรอยย่น น้ำลายย้อย ที่ดูเหมือนดุแต่กลับกลายเป็นยักษ์ใหญ่แต่ใจดี มีความกล้าหาญ โดยทั่วไปจะมีน้ำหนักอยู่ที่ 170 ปอนด์
HOMEPAGE
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)